หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3


Assignment 3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ ในสาขาวิขาสังคมศึกษา 1ระบบ ตามหลัก I P O ในแต่ล่ะองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ล่ะองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย

ระบบการศึกษา วิชาประวัติสาสตร์
      
        เพื่อความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์หลัก สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์ สังคมศึกษา และประวัติศาสตร์ (ศึกษา) โดยได้แสดงในรูปแผนภาพ ดังนี้


        ประวัติศาสตร์เป็นสาขาย่อยสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เนื่องจากใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาศึกษา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ในอดีตจากสิ่งที่มนุษย์ได้จารึกไว้เป็นภาษาและอ่านแปลความหมายได้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นตอน ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมาย ในเรื่องที่ต้องการหาคำตอบ กำหนดจุดประสงค์ในสิ่งที่จะศึกษา อดีตเกี่ยวกับอะไร สมัยใด ด้วยเหตุผลใด การกำหนดเป้าหมายได้ ผู้ศึกษาต้องศึกษาจากเอกสาร สังเกต และต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา คำถามหลักประกอบในการศึกษา คือ สาเหตุ (เพราะเหตุใด) และวิธีการ (อย่างไร)
  • ขั้นตอนที่ ๒ การรวบรวมข้อมูล คือ การแสวงหาหลักฐานประจักษ์ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (หลักฐานทางโบราณคดี) ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญ และมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ซึ่งอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง โดยทั่วไป การรวบรวมข้อมูลมักเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้นมายืนยัน การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรศึกษาจากข้อมูลหลายประเภท การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
  • ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้วิจารณญาณ ด้วยการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) เป็นการตรวจสอบหลักฐานพิจารณาจากสาระที่สัมผัสได้ เป็นข้อมูลรูปลักษณ์ และวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) เป็นการตรวจสอบคุณค่า ความน่าเชื่อถือ และความหมาย ความตลาดเคลื่อน อคติ เพื่อให้ได้ความจริงที่อธิบายได้ด้วยเหตุและผล และสอดคล้องกับหลักฐานประจักษ์
  • ขั้นตอนที่ ๔ การตีความหลักฐาน คือ การพิจารณาข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐาน ในการเข้าถึง เจตนาของผู้สร้างหลักฐาน จากรูปแบบ ลักษณะการเขียน รูปลักษณ์ หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริง
  • ขั้นตอนที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการตีความหลักฐานมาวิเคราะห์ เพื่อจัดแยกประเภทของเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล จากนั้น นำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน เรียบเรียงเรื่องราวเพื่อนำเสนอสารสนเทศในสิ่งที่ค้นพบหรือคำตอบ                       
เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ จึงขอเสนอแผนภาพ ดังนี้




หลักการสอนประวัติศาสตร์ในสังคมศึกษา
การสอนประวัติศาสตร์ในสาระสังคมศึกษา ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจว่า ประวัติศาสตร์อยู่ในฐานะเป็นส่วนหนี่งของสังคมศึกษา สังคมศึกษา คือ การเลือกสรรสาระเนื้อหาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตสังคมในฐานะเป็นพลเมืองดี (สมาชิกที่ดีของสังคม) จากสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศึกษาเป็นสาขาย่อยของการศึกษา เป้าหมายของศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพตามที่สังคมกำหนด (ถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรมของสังคม)
ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์
มีหลักฐานประจักษ์ (จากตัวอักษรที่แปล/ตีความได้) อาจเป็นได้ทั้งหลักฐานขั้นปฐมภูมิ ขั้นทุติยภูมิ หลักฐานโบราณคดี (โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นต้น)
พัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ มองเป็นองค์รวม ตามประเด็นที่ศึกษา ด้วยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ วิถีชีวิตและการจัดระเบียบสังคม การปกครอง การสื่อสาร การติดต่อกับคนนอกกลุ่ม ภูมิปัญญา ศิลปะ เป็นต้น
เมื่อครูเข้าใจความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศึกษา และประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นระเบียบวิชาหนึ่งกับประประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นส่วนของสังคมศึกษาแล้ว การออกแบบการสอน และกิจกรรมการสอนก็ย่อมเป็นไปตามหลักการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผู้เรียนด้วยกิจกรรมการทำโครงงาน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ได้ อย่างไรจะขอกล่าวในภาพรวมของสังคมศึกษา แต่จะยกตัวอย่างในสาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

หลักการทำโครงงานสังคมศึกษา (ดูในหลักการทำโครงงาน)
ความหมายของโครงงาน 
คำโครงการกับโครงการมักจะมีความสับสน และมีข้อสงสัย เมื่อโครงการ ในภาษาอังกฤษใช้ว่า Project และในขณะเดียวกันคำว่า โครงงาน ก็ใช้คำ Project เช่นกัน ประการแรกต้องกำหนดขอบเขตความหมายของคำโครงงาน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายโครงงานไว้ต่าง ๆ กัน เช่น 
โครงงาน คือ การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
โครงงาน (Project) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปรัชญาของการทำงานโครงงานก็เพื่อประมวลความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนตลอดจนเพื่อแสวงหาคำตอบของปัญหาที่นักเรียนสนใจ 
โครงงาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องราวที่ผู้เรียนมีความสนใจ และเกิดปัญหาข้อสงสัยในการค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 
โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระบบขั้นตอน มีการวางแผนศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์เป็นการศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระบบขั้นตอน มีการวางแผนศึกษา อย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ
 http://my.opera.com/somprasong/blog/xit-y9blkl9in

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 2

1.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่  ? ถ้าเป็น อธิบายตามองค์ประกอบของระบบ
         

     การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System (ระบบ)  เพราะลักษณะการผลิตน้ำตาลทรายดังกล่าว จะเป็นขั้นเป็นตอนและแบ่งแยกแต่ละองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน ตามองค์ประกอบของระบบคือ Input > Processor > Output กล่าวคือ มีปัจจัยหน้าที่และสามารถเข้าสู้กระบวนการซึ่งให้ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์

Input คือ
โรงงานที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาลจากอ้อย รวมถึงเครื่องจรักที่ใช้ในการผลิตอีกด้วย แรงงานคนที่ใช้ในการผลิตน้ำตาล และที่สำคัญก็คือเงินทุก ที่ใช้ในการลงทุกการผลิตน้ำตาย

Process คือ
1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป
3. การระเหย (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup
4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)
Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไป
ทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบไปฟอกสีออกจึงต้องมีกระบวน กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ แล้วน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากกระบวนการข้างต้นจะถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเพิ่มไปอีกราวๆ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
6. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) จะได้สารละลายน้ำตาลดิบที่ผสมซึ่งเรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลืองหรือกากน้ำตาลออก
7. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการ ปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกสีเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยน ประจุ (Ion Exchange Resin)จะได้น้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว หากถ้าเราต้องการผลิตน้ำตาลกรวดที่มีราคาแพงก็สามารถทำในขั้นตอนนี้ได้ครับ โดยที่เทคนิคก็คือ เราจะต้องปล่อยให้การตกผลึกนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (2-3วัน) จึงไม่ต้องแปลกใจครับว่าทำไมน้ำตาลกรวดถึงได้แพงซะเหลือเกิน การตกผลึกช้าๆนั้นจะทำให้ได้สารละลายที่มีโครงผลึกแน่นขึ้น เนื้อสัมผัสถึงได้แตกต่างไปจากน้ำตาลทรายปกตินั่นเองครับ
9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาว
10. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ ( Dryer ) เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง 1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไป

Output คือ
     ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer  เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย
น้ำตาลทราย และ กากน้ำตาล